สิวในตำแหน่งต่างๆของร่างกายบอกอะไร ?
ศาสตร์เรื่องสิวมีหลายตำรามาก อันนี้ยกมาตำรานึงที่พูดถึงปัญหาสุขภาพ เพื่อใครที่เป็นสิวเรื้อรังขึ้นบริเวณเดิมๆ ลองดูสิ ว่ามีปัญหาภายในอะไรรึเปล่า ไม่นับสิวฮอร์โมนนะจ๊ะ อันนั้นขึ้นบริเวณเดิม ตำแหน่งเดิมปกติอยู่แล้ว และสิวที่เราจะมาพูดในวันนี้จะบอกถึงปัญหาสุขภาพภายในได้แม่นยำขนาดไหนต้องลองอ่าน และ อาจจะสังเกตุดูค่ะ
ส่วนที่ 1 สิวบริเวณใบหน้า
ตำแหน่งต่างๆบอกว่าเราอาจจะมีปัญหาสุขภาพภายใน
[ ภาพจากเว็บพี่บีม MarryBeam ผู้เชี่ยวชาญการรักษาสิวภายใน ]
– บริเวณหน้าผาก ( โซนที่ 1 และ 3 )
การเกิดสิวในบริเวณนี้เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบย่อยอาหาร กระเพาะปัสสาวะ และต่อมหมวกไต
สาเหตุ มาจากการมีความเครียดสูง / การทารองพื้นที่หนาเกินไปและการแต่งหน้าบริเวณคิ้วมากไปแล้วล้างเครื่องสำอางค์ไม่สะอาด ก่อให้เกิดเป็นสิวขึ้นบริเวณนี้ได้เช่นกัน
วิธีการแก้ไข
- ควรผักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้ตับทำงานได้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
- ดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพราะการดื่มน้ำจะช่วยเรื่องของการขับถ่ายและย่อยอาหาร
- ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 20-30 นาที รวมถึงหากิจกรรมต่างๆเพื่อคลายความเครียด
- ล้างเครื่องสำอางหรือแชมพูสระผมให้สะอาด หากมีการใส่หมวกเป็นประจำควรมีการทำความสะอาดหมวกให้สะอาดอยู่เสมอ
– บริเวณกลางหน้าผากระหว่างคิ้ว ( โซนที่ 2 )
ปัญหาหลักอาจเกิดจากระบบการทำงานของตับ รวมไปถึงปัญหาของการย่อยสารอาหารจำพวกแลกโตส ซึ่งอยู่ในนมวัวหรืออาหารที่มีส่วนผสมของนมวัว
สาเหตุ เกิดจากการทานอาหารรสจัด และการทานอาหารดึกเกินไป รวมถึงรับประทานอาหารผลิตภัณฑ์นมวัวเพราะย่อยยากกว่าพวกนมถั่วเหลือง
วิธีการแก้ไข
- หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสจัด หรือการทานอาหารในช่วงดึก
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่
– บริเวณหูทั้งสองข้าง ( โซนที่ 4 และ 10 )
การเกิดสิวในบริเวณนี้เกิดขึ้นจากปัญหาเรื่องการทำงานของไต และอุณหภูมิในร่างกายที่สูงเกินไป
สาเหตุ เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม กาแฟหรือการกินเนื้อสัตว์มากเกินไป นอกจากนี้ยังเกิดจากการล้างแชมพูหรือสบู่ออกไม่หมด รวมไปถึงการใช้โทรศัพท์มือถือที่มากเกินไปก็มีส่วนดังนั้นควรทำความสะอาดโทรศัพท์ หรือ มือถือเป็นประจำ
วิธีการแก้ไข
- หลีกเลี่ยงอาการที่มีไขมันสูง เช่น ของทอด อาหารประเภท fast food, junk food ต่างๆ
- ทานผัก ผลไม้ที่ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย เพิ่มกากใยช่วยย่อยทำให้ร่างกายขับของเสียและความร้อนออก เช่น แตงกวา แตงโม น้ำเต้า เป็นต้น
- รักษาความสะอาดบริเวณใบหูอย่างดี ล้างแชมพูและสบู่ให้หมดจด รวมไปถึงงดการใช้โทรศัพท์เป็นเวลานานเมื่อเกิดสิวบริเวณดังกล่าว
– บริเวณแก้มทั้งสองข้าง ( โซนที่ 5 และโซนที่ 9 )
สิวบริเวณนี้เกี่ยวข้องกับปัญหาเรื่องระบบทางเดินหายใจ ไซนัสและปอด
สาเหตุ มาจากการสูบบุหรี่จัดหรือการแพ้ควันบุหรี่ มีอาการภูมิแพ้หรือหวัดเรื้อรัง การเลือกใช้รองพื้นที่ไม่เหมาะสม หรืออาจเกิดจากการแพ้อาหารทะเล รวมถึงการแพ้ปอกหมอน
วิธีการแก้ไข
- ลดการสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่แออัด เสี่ยงต่อการสัมผัสฝุ่นละอองและควันบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการทานอาหารประเภทที่มีน้ำตาลและน้ำอัดลม
- ฝึกการออกกำลังกายเพื่อบริหารปอด เช่น การเต้นแอโรบิค ในช่วงเวลา 19.00-21.00 เพราะเป็นช่วงเวลาที่ปอดทำงานได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
- พยายามฝึกการขับถ่ายให้เป็นระบบและเป็นเวลา
- ดูแลความสะอาดอุปกรณ์แต่งหน้าอื่นๆให้สะอาดอยู่เสมอ
- หากรู้สึกว่าสิวเกิดขึ้นหลังจากการรับประทานอาหารทะเล ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
- ทำความสะอาดปลอกหมอนอย่างสม่ำเสมอ
– บริเวณรอบดวงตาซ้ายและขวา ( โซนที่ 6 และโซนที่ 8 )
ปัญหาการเกิดสิวในบริเวณนี้เกิดจากการความผิดปกติของไต ปัญหาเรื่องโรคภูมิแพ้
สาเหตุ มาจากการเลือกใช้เครื่องสำอางที่ไม่เหมาะกับสภาพผิว หรือการใส่แว่นตาที่มีการเสียดสีกับรอบดวงตาจนเกิดเป็นสิวขึ้น การมีสารตกค้างในร่างกายมากเกินไป การพักผ่อนไม่เพียงพอ รวมไปถึงการระคายเคืองที่เกิดจากอาการภูมิแพ้และการการขาดสารอาหารที่จำเป็น
วิธีการแก้ไข
- พักผ่อนให้เพียงพอ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินสูงจำพวก ผลไม้
- เลือกใช้เครื่องสำอางที่เหมาะกับสภาพผิว
- ทำความสะอาดแว่นตาที่ใช้สม่ำเสมอ
– บริเวณจมูกและริมฝีปาก ( โซนที่ 7 )
มีผลมาจากปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจ ระบบสืบพันธุ์ (การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน) ซึ่งหากมีมีผิวสีแดงเข้มที่จมูก อาจส่งผลมาจากระดับความดันเลือดสูงผิดปกติ
สาเหตุ มาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่อยู่ในช่วงมีประจำเดือน และช่วงตั้งครรภ์ การใช้ยาคุมกำเนิด นอกจากนี้ยังเกิดจากการแพ้ลิปสติกหรือยาสีฟัน
วิธีการแก้ไข
- งดอาหารที่มีรสจัดและมีส่วนผสมของเครื่องเทศและกระเทียม
- ทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ให้น้อยลง
- ดื่มน้ำในอุณหภูมิปกติ ( ไม่อุ่นหรือแช่เย็น )
- เลือกทานอาหารที่มีวิตามินบีสูงในระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
- เปลี่ยนลิปสติกหรือยาสีฟันที่ใช้เป็นประจำ
– บริเวณด้านข้างของคางหรือช่วงกราม ( โซนที่ 11 และ 13 )
เกิดจากปัญหาเรื่องของระบบฟันและโดยเฉพาะกรามฟัน
สาเหตุ อาจเกิดจากการขาดวิตามิน หรือเกิดจากหลังจากการทำฟัน หรืออยู่ในช่วงของการปรับเปลี่ยนฮอร์โมน
วิธีการแก้ไข
- แปรงฟันและดูแลสุขภาพฟันให้สะอาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการทำฟัน
- กินผักและผลไม้มากขึ้น
- มั่นตรวจสอบความผิดปกติของฮอร์โมน เมื่อมีสิวขึ้นบริเวณดังกล่าวผิดปกติ
– บริเวณปลายคาง ( โซนที่ 12 )
มีผลมาจากระบบลำไส้เล็กและระบบการย่อยของกระเพาะอาหาร
สาเหตุ การเกิดสิวบริเวณนี้เกิดจากการเลือกทานอาหารที่มีรสจัดจนลำไส้เป็นแผล และปัญหาการดูดซึมอาหารของกระเพาะอาหาร
วิธีการแก้ไข
- ลดการทานอาหารที่มีรสจัด
- เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืนเพื่อง่ายแก่การย่อยของกระเพาะอาหาร
– บริเวณใต้คาง ( โซนที่ 14 )
สิวบริเวณนี้เกิดจากเรื่องของความเครียดเป็นหลัก รวมไปถึงความสะอาดของบริเวณดังกล่าว
สาเหตุ มาจากความเครียดของผู้เป็นสิว และการล้างเครื่องสำอาง หรือการล้างผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดผิวไม่สะอาด
วิธีการแก้ไข
- หากิจกรรมคลายเครียดหรือหลีกเลี่ยงเรื่องที่จะก่อให้เกิดความเครียด
- ล้างเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวให้สะอาด ไม่ให้ตกค้างในผิว
ส่วนที่ 2 สิวบริเวณลำตัว
– สิวที่แผ่นหลัง
การเกิดสิวที่หลังมีผลเกี่ยวเนื่องมาจากระดับฮอร์โมนในร่างกาย การอับชื้น การระคายเคืองของผิวหนังและปัจจัยสำคัญในการเกิดสิวอีกอย่างคือ การใช้ชีวิตประจำวันของเราเอง
สาเหตุ เกิดมาจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนของร่างกายโดยตรง เพราะแผ่นหลังเป็นจุดที่ต่อมเหงื่อและต่อมไขมันทำงานหนัก จึงง่ายต่อการเกิดสิว นอกจากนี้การใช้ชีวิตประจำวัน การไม่รักษาความสะอาดก็ก่อให้เกิดสิวที่แผ่นหลังได้ง่ายเช่นกัน เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่สะอาด การใช้ผ้าปูที่ไม่สะอาด เป็นต้น เมื่อเกิดความไม่สะอาดสะสมที่บริเวณแผ่นหลังจึงก่อให้เกิดการหมักหม่มของของเสียที่ขับออกมาได้ ทำให้เกิดเป็นสิวขึ้น อาจเกิดมาจากกรรมพันธุ์ได้อีกสาเหตุหนึ่งด้วย
วิธีการแก้ไข
การรักษาสิวที่แผ่นหลังสามารถทำได้หลายวิธี โดยอันดับแรกต้องหาสาเหตุของการเกิดสิวที่หลังให้ได้ก่อนว่าเกิดจากอะไร เพื่อให้ง่ายต่อการรักษา เมื่อรู้สาเหตุแล้วก้อควรแก้ปัญหาให้ตรงจุด ตัวอย่างเช่น หากเกิดสิวเพราะความสกปรกหรือการใช้ชีวิตประจำวัน ก็ควรรักษาความสะอาดของร่างกายสม่ำเสมอ หมั่นเปลี่ยนผ้าปูที่นอน หรือสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี การเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ใช้อยู่ไม่ว่าจะเป็นแชมพู หรือครีมนวดผม รวมไปถึงสบู่ก้อควรล้างให้สะอาดด้วย ไม่ให้ตกค้างที่แผ่นหลัง
หากสิวที่แผ่นหลังเกิดจากปัญหาเรื่องของฮอร์โมน ก็ควรเลือกรักษาให้ตรงจุด ซึ่งการใช้เลือกรักษานั้นมีหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาในการรักษา คือ ยาที่ใช้ทาหรือพ่นบริเวณที่เกิดสิว การทานยาเพื่อช่วยลดระดับฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งการเป็นสิวที่แผ่นหลังนั้นสามารถรักษาโดยใช้ยาแบบเดียวกับที่ใช้บริเวณใบหน้า ซึ่งการรักษานี้สามารถทำได้หลายวิธี แต่หากรักษาด้วยตนเองแล้วไม่ดีขึ้น ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาต่อไป
ส่วนตัวเอิ๊กเองเวลารักษาสิวที่หลังและหน้าอก
- อาบน้ำเช็ดตัวให้สะอาดก่อนใส่เสื้อผ้า
- สระผมอย่าให้โดนแผ่นหลัง หรือ หน้าอก ให้ก้มหัวสระ
- สระผมก่อนแล้วค่อยถูสบู่เป็นลำดับสุดท้ายล้างน้ำเปล่าให้มากๆ
- เมื่อเช็ดตัวแห้งแล้วทายารักษาสิวทั้งหน้าอกหรือหลัง แล้วรอให้แห้ง
- หลีกเลี่ยงกันแดดที่อุดตัน หรือ ครีมบำรุงผิวที่อุดตัน
ที่มา
http://bye-bye2acne.blogspot.com/
http://www.skinacea.com/acne/acne-face-map.html#.UI6YoG8j6So
แพรชอบมีสิวที่คาง เป็นตุ่มนูนๆแดงๆไม่มีหัวสิวแต่เจ็บมาก เป็นทีก้อนานมากกว่าจะหาย หายแล้วซักพักก้อกลับมาเป็นใหม่แถวๆเดิมอีก พอทราบมั้ยคะว่าเป็นเพราะอะไรแล้วทำไงถึงจะหาย?
สิวฮอร์โมนแน่เลยค่ะ
แพร: กินอาหารที่มีไฟเบอร์เยอะๆที่มาจากธรรมชาตินะคะ และไม่กินที่สังเคราะแบบวิทยาศาสตร์ค่ะ
เดี๋ยวลองทำดูค่ะ