Tag Archive | "ไฝ"

ขี้แมลงวัน & ไฝ เกี่ยวอะไรกับมะเร็งไฝ


ขี้แมลงวัน & ไฝ

คนไทยชอบเอาออกโดยเฉพาะบนใบหน้าเพราะ

  1. ทำให้ภาพรวมรูปลักษณ์ดูไม่ดีเท่าที่ควร
  2. คนไทยเชื่อเรื่องดวง
ขณะนี้มี 2 วิธีหลักที่จะนำออก
  1. กรดTCA
  2. เลเซอร์
ทั้งสองวิธีมีข้อดีข้อด้อยต่างกัน
กรด ดี ถูก เสีย อาจทำให้เป็นแผลเป็น และ เกิดแผลในวงกว้างมากกว่าเดิม เป็นหลุม
เลเซอร์ ดี สามารถเลือกบริเวณเอาออกได้แม่นยำ ด้อย ต้องเป็นแพทย์ผู้ชำนาญเพื่อเลี่ยงการตั้งค่าพลังงานพลาด เพราถ้าพลาดจะทำให้เกิดการไหม้ หรือ ถ้าเอาออกมากไปเป็นหลุม
คุณหมอ นุสรา วงษ์รัตนภัสสร บอกว่าไฝ หรือ ขี้แมลงวันเกิดจากความผิดปกติของการสร้างเม็ดสีเหมือนกันในทางการแพทย์ ไฝอาจจะนูน ขี้แมลงวันอาจจะเล็กและเรียบ ไม่จำเป็นที่จะต้องเอาออก เพราะจะได้ไม่เสี่ยงต่อแผลเป็นโดยไม่จำเป็น ขี้แมลงวันเราอาจจะไม่ได้เห็นผลข้างเคียง แต่ไฝเม็ดใหญ่ และ นูนอาจจะมีรากไฝที่ลึกกว่าการเอาออกอาจจะทำให้เกิดแผลเป็นได้ง่าย โดยเฉพาะตามลำตัว อาจจะทำให้เกิดแผลเป็น คียลอยด์ ส่วนที่ต้องระวังของไฝที่มีอยู่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะนั่นอาจเป็นที่มาของมะเร็งไฝ

 

มะเร็งไฝ Melanoma

เกิดจากเซลล์สร้างสีผิว melanocyte การที่จะเข้าใจโรคนี้ท่านจะต้องเข้าใจโครงสร้างของผิวหนัง เป็นมะเร็งผิวหนังชนิดหนึ่งที่แพร่กระจายเร็วมาก

โครงสร้างของผิวหนัง 

  • ผิวหนังเป็นอวัยวะที่ห่อหุ้มร่างกายทำหน้าที่ป้องกัน ความร้อน แสง การติดเชื้อ ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และสร้างวิตามินดีผิวหนังประกอบด้วยเซลล์สองชั้น

  • ชั้น epidermis เป็นชั้นนอกสุดประกอบด้วยชั้นบนสุดเป็น squamous เซลล์รองลงมาได้แก่ basal cell โดยมี melanocyte อยู่ใต้ subcutaneous

  • ชั้น dermis เป็นชั้นที่อยู่ของ ต่อมขน ต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน หลอดเลือด

 

Melanocyte และ ไฝ Mole

melanocyte เป็นตัวสร้างสีผิว melanin เมื่อผิวถูกแสงทำให้สีผิวเข็มขึ้น ไฝเป็นกลุ่มของ melanocyte ที่อยู่รวมกันมักเกิดในช่วงอายุ 10-40 ปี อาจจะแบน หรือนูน สีอาจเป็นสีชมพู หรือสีน้ำตาล รูปร่างกลม หรือวงรีไฝมักจะไม่เปลี่ยนแปลงขนาดหรือสีตัดออกแล้วไม่กลับเป็นซ้ำ

 

Melamoma

เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ melanocyte ที่แบ่งตัวนอกเหนือการควบคุมของร่างกาย ถ้าเกิดที่ผิวหนังเรียก cutaneous melanoma เกิดที่ตาเรียก ocular melanoma โดยทั่วไปเกิดบริเวณลำตัว ขา ถ้าคนผิวดำมักเกิดที่เล็บ โดยทั่วไปมะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองและอาจพบที่อวัยวะอื่นๆได้เรียก metastasis melanoma


ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง

  • ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งไฝ จะมีความเสี่ยงเพิ่มมากกว่า 2 เท่าดังนั้นสมาชิกในครอบครัวควรได้รับการตรวจจากแพทย์
  • Dysplastic nevi ไฝที่มีลักษณะชิ้นเนื้อแบบนี้จะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูง
  • เคยเป็น melanoma
  • ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น AIDS
  • มีไฝจำนวนมาก เช่นมากกว่า 50 เม็ดจะมีโอกาสเป็นมะเร็งมาก
  • แสง ultraviolet ควรสวมเสื้อแขนยาวและหมวกเพื่อกันแสง ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดเวลา 10-16.00 น.ควรทาครีมกันแสงร่วมด้วย
  • เคยถูกแสงจนไหม้เมื่อวัยเด็ก ดังนั้นควรป้องกันไม่ให้เด็กสัมผัสแสงแดด
  • สีผิว ผิวขาวมีโอกาสเกิดมะเร็งได้ง่ายกว่าผิวคล้ำ
4 ข้อสังเกตไฝดีหรือร้าย จากสัญลักษณ์จำง่าย ๆ A B C D 
มาจาก Asymmetry เป็นการสังเกตความสม่ำเสมอของสีไฝ หากในเม็ดเดียวกันมีทั้งสีเข้มและอ่อนควรเข้าพบแพทย์

B คือ Border เปรียบให้เป็นการสังเกตขอบเขตของเมลาโนมา แม้จะปรากฏให้เห็นไม่ค่อยชัดเจน แต่ให้พยายามดูว่ามีรอยหยัก รอยนูน ที่สูงต่ำไม่เท่ากันหรือไม่

C ย่อจาก Color ให้สังเกตลักษณะสี ถ้าเข้มมาก หรือดำมาก จัดว่าเป็นอันตราย

D หรือ Diameter ต้องดูขนาด หากขยายใหญ่เกิน 6 มิลลิเมตร จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติ

อย่างไรก็ตาม กระบวนการรักษา แพทย์จะวินิจฉัยจากการตัดชิ้นเนื้อหรือไฝไปตรวจทางพยาธิวิทยา หากพบว่า เป็นมะเร็งไฝ แพทย์จะการกระจายของเมลาโนมาต่อไป ก่อนทำการผ่าตัดรักษา.

อาการของมะเร็งไฝ

อาการเริ่มแรกมักเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลง ขนาด สี รูปร่าง ขอบ บางรายอาจมีอาการคัน มีขุยหากเป็นมากขึ้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงของความแข็ง หากพบมะเร็งเริ่มต้นการรักษาจะหายขาด แต่หากรุกลามเข้าใต้ผิวหนังมะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น

 

 


หากแพทย์สงสัยว่าไฝที่เห็นว่าจะเป็นมะเร็งแพทย์จะตัดก้อนนั้นส่งพยาธิแพทย์ตรวจด้วยกล้องจุลทัศน์ หากก้อนนั้นใหญ่มากแพทย์จะตัดเพียงบางส่วนส่งตรวจ ถ้าพบเซลล์มะเร็งแพทย์จะตรวจพิเศษเพิ่มเพื่อตรวจดูว่ามะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นหรือยังการวินิจฉัย

การรักษา

หลังจากวินิจฉัยและทราบการแพร่กระจายของโรคแพทย์จะวางแผนการรักษา ก่อนการรักษาควรจดบันทึกคำถามเพื่อถามแพทย์ดังตัวอย่าง

  • การวินิจฉัยของแพทย์
  • มะเร็งแพร่กระจายไปหรือยัง
  • ควรจะรักษาด้วยวิธีใดดีที่สุด และแพทย์เลือกวิธีใด
  • โอกาสที่จะประสบผลสำเร็จมีมากหรือไม่
  • เราจะทราบอย่างไรว่าการรักษาได้ผล
  • การรักษาจะสิ้นสุดเมื่อใด
  • จะดูแลตัวเองระหว่างการรักษาอย่างไร
  • ผลข้างเคียงของการรักษามีอะไรบ้าง
  • จะเจ็บปวดหรือไม่ และจะใช้ยาอะไรในการควบคุม
  • หลังการผ่าตัดต้องรักษาอย่างอื่นหรือไม่

วิธีการรักษา

  1. การผ่าตัด เป็นการรักษามาตรฐานแพทย์จะพยายามตัดเนื้อร้ายออกให้หมดร่วมทั้งต่อมน้ำเหลืองที่ใกล้เนื้อร้าย ถ้ามะเร็งแพร่กระจายไปอวัยวะอื่นแพทย์จะให้การรักษาอย่างอื่น
  2. เคมีบำบัด เป็นการให้สารเคมีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งโดยอาจเป็นยากินหรือยาฉีด
  3. รังสีรักษาเป็นการฆ่ามะเร็งเฉพาะที่โดยเฉพาะมะเร็งที่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น เช่น สมอง ปอด ตับ
  4. การสร้างภูมิคุ้มกัน อาจให้ภูมิโดยการฉีด เช่นการให้ interferon หรือ interleukin โดยการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิขึ้นมาเช่นการฉีดวัคซีน

ผลข้างเคียงของการรักษา

  1. การผ่าตัด อาจทำให้เกิดแผลเป็นบางรายเกิด keloid การตัดต่อมน้ำเหลืองอาจทำให้ขาหรือแขนบวม
  2. เคมีบำบัด การให้เคมีบำบัดอาจให้เกิดโลหิตจาง ติดเชื้อง่าย หรือเลือดออกง่าย ผมร่วง
  3. รังสีรักษา ทำให้ผมบริเวณที่ฉายรังสีร่วง อาจมีอาการอ่อนเพลีย
  4. การสร้างภูมิคุ้มกัน อาจมีอาการปวดเมื่อตามตัวเบื่ออาหาร ท้องร่วง

 

แหล่งข้อมูล 

สัมภาษณ์ พญ. นุสรา วงษ์รัตนภัสสร

http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/cancer/melanoma.htm

ญ.พู่กลิ่น ตรีสุโกศล แพทย์ผิวหนังและภูมิแพ้ โรงพยาบาลพญาไท 2

Posted in BEAUTY TECHNOLOGY, SKINComments (0)


advert

Google

erk-erk.com





BEAUTY MENU

มาคุยกับเอิ๊กได้ที่นี่ทุกวัน ถ้าว่างรีบตอบทุกคำถามค่ะ

INSTAGRAM @wwwerkerkcom

[instagram-feed]

ติดตามบล็อค erk-erk.com อย่างใกล้ชิด

เพียงกรอก Email ตรงนี้เลย

LINE @erk-erk

เพิ่มเพื่อน

Related Sites